ประวัติคณะ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง


คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีพัฒนาการมาจากหมวดวิชาหัตถศึกษา เริ่มเปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2515 < /p> และได้รับการอนุมัติให้เป็นโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2543 โดยให้มีฐานะและการบริหารงานในรูปแบบของคณะวิชาภายในสถาบันราชภัฏลำปาง และได้ยกระดับเป็นคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ. 2548 การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 4 หลักสูตร 10 สาขาวิชา ที่ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม

ประกอบด้วย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 4 สาขาวิชา หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต จำนวน 4 สาขาวิชา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมในการผลิตครูช่าง พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่ได้สนับสนุนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในรูปแบบของสหกิจศึกษา และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน (WIL)

ทั้งนี้ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยร่วมกันกับสถาบันอุดมภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง ด้านการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ ร่วมกันกับวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ ด้านวิชาการร่วมกันกับ สถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดลำปาง จำนวน 3 แห่ง และความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันบริษัทผู้ประกอบการ จำนวน 3 แห่ง ด้านวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัย และแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ สกว. ,อว., สสส. เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดรับยุทธศาสตร์ของชาติ และยุทธศาสตร์การวิจัย ด้านบริการวิชาการได้มีการจัดบริการวิชาการทั้งแบบให้เปล่า และก่อให้เกิดรายได้ ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น มีการดำเนินการภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ เช่น การฝึกอบรมระยะสั้นให้กับนักศึกษาและบุคคลที่สนใจ การให้บริการกับชุมชนในพื้นที่จังหวัดลำปางและลำพูน นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านบริการวิชาการภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ในการนี้ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้ดำเนินการในรูปแบบของการบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนร่วมด้วย อาทิ การฝึกอบรม การซ่อมบำรุงไฟฟ้าเบื้องต้น การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ขนาดเล็ก การซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านโดยความร่วมมือระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรสายสนับสนุน ในการดำเนินงาน คณะได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการสอน การวิจัยและบริการวิชาการไปประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่และถ่ายทอดให้แก่ชุมชน ผ่านการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย